top of page

8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากล มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์) ขอเชิญชวนคนไทยทุกท่าน ร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีทุกรูปแบบ

รูปภาพนักเขียน: ทีมงานมูลนิธิปวีณาฯทีมงานมูลนิธิปวีณาฯ

มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์) ก่อตั้งปี 2542 เป็นระยะเวลา 26 ปี รับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น 178,600 ราย เราได้เห็นปัญหาเด็ก สตรี ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมทุกรูปแบบเข้าร้องทุกข์ ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกดขี่ข่มเหงทั้งร่างกายและจิตใจ ถูกข่มขืน ทารุณกรรมทำร้ายร่างกาย บังคับค้ามนุษย์ค้าประเวณี แรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบเยี่ยงทาส

ปี 2567 มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์) รับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น สถิติรับเรื่องราวร้องทุกทั้งสิ้น 5,647 เรื่อง จำแนกเป็น 14 ปัญหา ที่มูลนิธิรับร้องทุกข์ดังนี้ 

1. ข่มขืน / อนาจาร 790 ราย

2. ทารุณกรรม / ทำร้ายร่างกาย / กักขัง 740 ราย

3. ล่อลวง/ค้าประเวณี/ค้ามนุษย์ 257 ราย

4. อาชญากรรมออนไลน์ 668 ราย

5. ยาเสพติด (ติดสุรา /ติดยาเสพติด /ญาติขอให้ส่งบำบัด) 210 ราย

6. ปัญหาครอบครัว 1,317 ราย

7. ปรึกษาด้านกฎหมาย /เรื่องกฎหมาย 279 ราย

8. จิตเวช/สาธารณสุข 263 ราย

9. แรงงาน /ของานทำ 71 ราย

10. ขอความอนุเคราะห์/ความช่วยเหลือ 519 ราย

11. ขอความเป็นธรรม /หนี้นอกระบบ 229 ราย

12. คนหาย / เร่ร่อน / ขอทาน 163 ราย 

13. เรื่องการศึกษา 68 ราย

14. ปัญหาอื่นๆ 74 ราย

มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์) ได้เล็งเห็นความสำคัญ ให้การปกป้องช่วยเหลือ เด็กและสตรีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทุกรูปแบบ ครบวงจร One Stop Service และประสบความสำเร็จโดยได้รับความร่วมมือบูรณาการร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน

มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์) จึงขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านได้ช่วยกันปกป้องสิทธิเด็กและสตรี ให้ได้รับความเสมอภาค ความเป็นธรรม และดำเนินชีวิตได้อย่างเท่าเทียมกับผู้ชายเพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติร่วมกัน

ประวัติวันสตรีสากลของไทย

วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2532 ประเทศไทยจึงได้ก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ในรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในสังคม รวมทั้งระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะมุ่งให้เห็นความสำคัญของสุภาพสตรีเช่นกัน นับตั้งแต่นั้นมา วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ประเทศไทยได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในวันสตรีสากลด้วย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จัก และเห็นความสำคัญของวันสตรีสากล

ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อเวทีโลกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพสตรี โดยได้มีการดำเนินการทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย มาตรการและกิจกรรมต่างๆ ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย

วันสตรีสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย การจัดกิจกรรมงานวันสตรีสากล นั้น เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้อันยาวนาน กว่าจะได้อิสระ และความเท่าเทียมกับผู้ชาย

วันสตรีสากลจึงไม่ได้เป็นเพียงวันที่กลุ่มสตรีทั่วโลกร่วมฉลองกันเท่านั้น แต่เป็นวันที่องค์กรสหประชาชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองด้วย กลุ่มสตรีจากทุกทวีปไม่ว่าจะแตกต่างกันโดยเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือการเมืองก็ตามได้รวมตัวกันเพื่อฉลองวันสำคัญนี้

 

 
 

Comments


bottom of page