top of page
รูปภาพนักเขียนทีมงานมูลนิธิปวีณาฯ

“ปวีณา” แถลงผลการดำเนินงาน และสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาฯ ประจำปี 2564 ตั้งแต่วันที่

“ปวีณา” แถลงผลการดำเนินงาน และสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาฯ ประจำปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม – 9 ธันวาคม 2564

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น. นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้แถลงผลการดำเนินงาน และสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ประจำปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม – 9 ธันวาคม 2564 รวมรับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น 11,267 ราย นับว่า มูลนิธิปวีณาฯ รับเรื่องราวร้องทุกข์มากกว่าปี 2563 (ปี 2563 รับร้องทุกข์ 10,147 ราย) จำนวน 1,120 ราย คิดเป็น 11.03 %


โดยจำแนกเป็นปัญหาต่างๆ ดังนี้

  1. ข่มขืน / อนาจาร 741 ราย

  2. ทารุณกรรม / ทำร้ายร่างกาย / กักขัง 994 ราย

  3. ล่อลวง/ค้าประเวณี/ค้ามนุษย์ 96 ราย

  4. ยาเสพติด 265ราย

  5. คนหาย 70 ราย

  6. แรงงานไม่เป็นธรรม/ถูกหลอกทั้งในประเทศ-ต่างประเทศ 32 ราย

  7. ปัญหาครอบครัว 1,510 ราย

  8. ขอความเป็นธรรม 744 ราย

  9. แช็ต / อินเทอร์เน็ต 206 ราย

  10. ขอความอนุเคราะห์ 832 ราย

  11. ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและบริการทางสาธารณสุข 61 ราย

  12. ปัญหาอื่น ๆ อาทิ เรื่องเฉพาะส่วนตัว, อาการป่วย, กังวล หวาดกลัว 47 ราย

  13. ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 5,669 ราย

รวม มูลนิธิปวีณาฯรับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น 11,267 ราย



ในปี 2564 ประเภทปัญหาที่มูลนิธิปวีณาฯ ให้ความสำคัญและให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนมี 6 ประเภท ดังนี้ คือ

  1. ปัญหาข่มขืน/อนาจาร

  2. ปัญหาทำร้ายร่างกาย/ทารุณกรรม

  3. ปัญหาค้ามนุษย์/ค้าประเวณี

  4. ปัญหาครอบครัว

  5. ปัญหายาเสพติด

  6. ขอความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

1.ปัญหาข่มขืน/อนาจาร จำนวน 741 ราย เฉลี่ยร้องทุกข์วันละ 2.03 ราย

โดยมีผู้กระทำผิดตามลำดับดังนี้

  • อันดับ 1 แฟน/เพื่อน 154 ราย คิดเป็น 20.78 %

  • อันดับ 2 คนรู้จัก 147 ราย คิดเป็น 19.84 %

  • อันดับ 3 เป็นญาติ 141 ราย คิดเป็น 19.03 %

  • อันดับ 4 พ่อเลี้ยง 84 ราย คิดเป็น 11.34 %

  • อันดับ 5 คนข้างบ้าน 46 ราย คิดเป็น 6.21 %

  • อื่นๆ 169 ราย คิดเป็น 22.81%

ช่วงอายุที่ถูกข่มขืนมากสุด

  • อันดับ 1.อายุ 10-15 ปี จำนวน 262 ราย คิดเป็น 35.36%

  • อันดับ 2.อายุ 15-20 ปี จำนวน 182 ราย คิดเป็น 24.56 %

  • อันดับ 3.อายุ 5-10 ปี จำนวน 85 ราย คิดเป็น 11.47%

  • อื่นๆ 212 ราย คิดเป็น 28.61%

*ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงอายุ 5-10 ปี ถูกข่มขืนมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง



ภูมิภาคที่เกิดเหตุเรียงลำดับดังนี้

  • ภาคกลาง 313 ราย

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 139 ราย

  • ภาคตะวันออก 84 ราย


  • เคสข่มขืน/กระทำชำเรา ผู้เสียหายอายุน้อยสุด 1. เหตุเกิด จ.เพชรบุรี พ่อแม่ร้อง “ปวีณา” แจ้งว่า วันที่ 4 ม.ค.64 ลูกสาววัย 10 เดือน ถูกเพื่อนพ่อที่มานั่งเล่นที่บ้านพออยู่ลำพังกับเด็กถือโอกาสล่วงละเมิดทางเพศและสำเร็จความใคร่ตัวเอง แม่เด็กหญิงเห็นเหตุการณ์จึงเข้าช่วยลูก ปวีณา ประสานตำรวจ สภ.เมืองเพชรบุรี จับกุมตัวเพื่อนพ่อมาดำเนินคดีพร้อมส่งฝากขังศาลคัดค้านการประกันตัว

  • เคสข่มขืน/กระทำชำเรา ผู้เสียหายอายุน้อยสุด 2. เหตุเกิด จ.หนองบัวลำภู แม่ร้อง “ปวีณา” แจ้งว่า วันที่ 22 พ.ย.64 ลูกสาว 1 ขวบ 8 เดือน ถูกตาแท้ๆ ล่วงละเมิดทางเพศ ตอนที่ไปเล่นบ้านตาเด็กกลับมาบอกแม่เจ็บที่อวัยวะเพศ แม่เชื่อลูกถูกกระทำเพราะตอนแม่อายุ 5-12 ปี ถูกพ่อข่มขืนแต่ไม่กล้าบอกใคร ปวีณา ประสาน ผกก.สภ.เมืองหนองบัวลำภู เร่งดำเนินคดี

  • เคสข่มขืน/กระทำชำเรา ผู้เสียหายอายุมากสุด เหตุเกิด จ.สุราษฎร์ธานี หลานสาวร้อง “ปวีณา” วันที่ 13 ก.ค.64 แจ้งว่า ป้าวัย 68 ปี ถูกลูกเขยติดยาเสพติดข่มขืนขณะที่ไม่มีใครอยู่บ้าน ปวีณา ประสานตำรวจ สภ.วิภาวดี ติดตามคดีเพราะผู้เสียหายกลัวไม่ปลอดภัย ตำรวจรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย ขณะที่หลานมารับผู้เสียหายไปอยู่ด้วยแล้ว



2. ปัญหาทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย จำนวน 994 ราย เฉลี่ยร้องทุกข์วันละ 2.72 ราย

โดยมีผู้กระทำทารุณกรรมตามลำดับดังนี้

  • อันดับ 1 สามีทำร้ายร่างกายมากที่สุด 267 ราย คิดเป็น 26.86 %

  • อันดับ 2 พ่อแม่ 111 ราย คิดเป็น 11.16 %

จำแนกเป็น

  • พ่อ 74 ราย คิดเป็น 7.44 %

  • แม่ 37 ราย คิดเป็น 3.72%


  • อันดับ 3 คนรู้จัก 75 ราย คิดเป็น 7.54 %

  • อันดับ 4 ญาติ 70 ราย คิดเป็น 7.04 %

  • อันดับ 5 สามีเก่า/แฟนเก่า 68 ราย คิดเป็น 6.84 %

  • อันดับ 6 พ่อเลี้ยง-แม่เลี้ยง 50 ราย คิดเป็น 5.03 %

จำแนกเป็น

  • พ่อเลี้ยง 38 ราย คิดเป็น 3.82 %

  • แม่เลี้ยง 12 ราย คิดเป็น 1.21 %

  • อื่นๆ 353 ราย คิดเป็น 35.52 %

ช่วงอายุเหยื่อที่ถูกกระทำ

  • อันดับ 1 อายุ 40 ปี ขึ้นไป จำนวน 141 ราย คิดเป็น 14.19 %

  • อันดับ 2 อายุ 5-10 ปี จำนวน 104 ราย คิดเป็น 10.46 %

จำแนกเป็น

  • แรกเกิด-5 ปี จำนวน 36 ราย คิดเป็น 3.62 %

  • 5-10 ปี จำนวน 68 ราย คิดเป็น 6.84 %



ภูมิภาคที่เกิดเหตุเรียงลำดับดังนี้

  • ภาคกลาง 357 ราย

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 128 ราย

  • ภาคใต้ 88 ราย


  • เคสทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายอายุน้อยสุด เป็นเด็กชายวัย 8 เดือน เหตุเกิดใน จ.ระยอง แม่ร้อง “ปวีณา” วันที่ 21 ต.ค.64 พ่อ-แม่ นำลูกไปฝากเลี้ยง เด็กร้องงอแงพี่เลี้ยงใช้เท้าเตะที่ศีรษะ 3 ครั้ง จนเขียวบวมปูด ซึ่งพี่สาววัย 6 ขวบ ที่ฝากเลี้ยงด้วยกันเห็นเหตุการณ์ ปวีณา ประสานตำรวจ สภ.ปลวกแดง จ.ระยอง ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง

  • เคสทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายอายุมากสุด เหตุเกิดใน จ.นครพนม พลเมืองดีแจ้ง “ปวีณา” วันที่ 9 มี.ค.64 คุณยายอายุ 84 ปี เป็นอดีตข้าราชการครู ถูกลูกชายบุญธรรมที่เก็บมาเลี้ยงติดยาเสพติดทำร้ายทุบตี และยังแอบเอาบ้านแม่ไปขายจนแม่ต้องไปอาศัยบ้านคนอื่นอยู่ แต่ก็ยังตามรังควานมาขอเงินไปซื้อยาเสพติดเมื่อไม่ได้ก็ทุบตีแม่ ปวีณา ประสานตำรวจ สภ.ศรีสงคราม จับกุมตัวลูกบุญธรรมไปบำบัดก่อนดำเนินคดีตามกฎหมาย และส่งคุณยายยายไปรักษาที่โรงพยาบาล



3. ปัญหาค้ามนุษย์/ค้าประเวณี จำนวน 96 ราย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ


จำแนกออกเป็นค้าประเวณีในประเทศ 20 ราย และค้ามนุษย์/ค้าประเวณีต่างประเทศ 76 ราย *ซึ่งในประเทศจะเป็นลักษณะแจ้งเบาะแสเด็กถูกเพื่อนชักชวนไปค้าประเวณี *สำหรับต่างประเทศจะเป็นกรณีที่ผู้หญิงถูกหลอกค้าประเวณีต้องการกลับประเทศไทย



ประเทศที่ไปทำงานและขอความช่วยเหลือ ดังนี้

  • บาร์เรน 31 ราย

  • ดูไบ 15 ราย

  • กัมพูชา 10 ราย (ถูกหลอกไปทำงานในบ่อนการพนัน)

  • โอมาน 4 ราย

  • ประเทศอื่นๆ จำนวน 36 ราย



สำหรับปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ผ่านมาเป็นช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลก ทำให้มีการปิดประเทศการค้าประเวณีจึงลดลง ประกอบกับทางรัฐบาลได้เข้มงวดกวดขันในเรื่องการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง มูลนิธิปวีณาฯ ขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้หญิงที่คิดจะไปทำงานต่างประเทศโดยหวังว่าจะมีค่าตอบแทนสูง อย่าหลงเชื่อคนง่าย ต้องตรวจสอบให้ดีก่อน เพราะอาจจะถูกหลอกไปค้าประเวณีต้องตกนรกทั้งเป็น


4. ปัญหาครอบครัว จำนวน 1,510 ราย ร้องทุกข์เฉลี่ยวันละ 4.13 ราย ทั้งนี้ปัญหาครอบครัวส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการแย่งบุตร ฟ้องหย่า และผู้หญิงท้องแต่ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ


5. ปัญหายาเสพติด จำนวน 265 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติดคลุ้มคลั่ง มีอาการทางประสาท อาละวาดทำร้ายคนในบ้าน ญาติต้องการให้พาไปบำบัด

ข้อมูลผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด

  • เคยบำบัด 33 ราย

  • เคยจำคุกคดียาเสพติด 25 ราย

ผู้ถูกกระทำจากคนติดยาเสพติดเป็นคนในครอบครัว

  • พ่อ / แม่ 64 ราย คิดเป็น 24.15 %

  • พี่น้อง 52 ราย คิดเป็น 19.62 %

  • ภรรยา 44 ราย คิดเป็น 16.60 %

  • ลูก 28 ราย คิดเป็น 10.57 %

  • อื่นๆ 77 ราย คิดเป็น 29.05 %


ช่วงอายุของผู้เสพยาที่เป็นผู้กระทำ

อายุ 35-40 ปี จำนวน 40 ราย คิดเป็น 15.09 %

อายุ 10-15 ปี จำนวน 6 ราย คิดเป็น 2.26 %

อื่นๆ 219 ราย คิดเป็น 82.65 %



ผู้เสพยามากที่สุด

  • อันดับ 1 ลูก 64 ราย คิดเป็น 24.15 %

  • อันดับ 2 พี่น้อง 52 ราย คิดเป็น 19.62 %

  • อันดับ 3 สามี 44 ราย คิดเป็น 16.60 %

  • อันดับ 4 พ่อ / แม่ 22 ราย คิดเป็น 8.30 %

  • อื่นๆ 83 ราย คิดเป็น 8.30 % คิดเป็น 31.33 %



6.ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จำนวน 5,669 ราย มากขึ้นกว่าปี 2563 (3,088 ราย) ถึง 2,581 ราย เท่ากับมากขึ้น 45.52 % ร้องทุกข์เฉลี่ยวันละ 15.53 ราย


ที่ผ่านมาทางมูลนิธิปวีณาฯ ได้ให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิด19 ดังนี้ 1.คนตกงาน-ได้รับผลกระทบโควิด โดยมูลนิธิปวีณาฯ ได้ส่งถุงยังชีพไปให้แล้ว และยังมีอีกกว่า 1,000 ราย ที่ยังไม่ได้จัดส่ง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการในช่วงปลายปีนี้ และ 2.เคสผู้ป่วยโควิด19 ที่ขอความช่วยเหลือ มูลนิธิปวีณาฯ ได้ประสาน ศูนย์เอราวัณ ให้การช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด 179 ครอบครัว จำนวน 338 คน


นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาฯ กล่าวว่า ปีใหม่ 2565 มูลนิธิปวีณาฯ ขอเชิญชวนภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน ร่วมกันรณรงค์หามาตราการป้องกันความรุนแรงในเด็กสตรีทุกรูปแบบให้เป็นรูปธรรม ซึ่งนับวันจะเพิ่มความรุนแรงอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะคดีข่มขืน ผู้ถูกกระทำที่ตกเป็นเหยื่อจะอายุน้อยลงไปทุกที จะเห็นได้จากสถิติมูลนิธิปวีณาฯ ปี 2564 อย่างชัดเจน มูลนิธิปวีณาฯ รับเรื่องราวร้องทุกข์ช่วยเหลือคดีข่มขืน 741 ราย และ 1 ในนั้นเป็นเหยื่อที่ถูกกระทำอนาจารซึ่งมีอายุเพียง 10 เดือนเท่านั้น


สำหรับปัญหายาเสพติดที่ทวีความรุนแรงอยู่ในขณะนี้ มูลนิธิปวีณาฯ ขอเสนอโครงการไปยังภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปศึกษา เป็นโครงการ “มอบชีวิตใหม่ผู้หลงผิดคืนสู่สังคม” โดยหลังจากที่มีการนำตัวผู้ที่ติดยาเสพติดมาแล้ว ควรมีขั้นตอนการบำบัดยาเสพติด ฝึกงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อที่ผู้เสพจะไม่ย้อนกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมอีก และกลับคืนสู่สังคม มีงาน มีอาชีพ มีรายได้ที่สุจริต ได้ภายในระยะเวลา 24 เดือน เพราะที่ผ่านมาการนำตัวผู้เสพไปบำบัดเพียง 45 วัน ถือว่าไม่ได้ผล หลังจากได้รับการบำบัดออกมาแล้วก็ยังเข้าสู่วงจรเดิม


โครงการ “มอบชีวิตใหม่ผู้หลงผิดคืนสู่สังคม” มีระยะเวลา 24 เดือน ดังนี้

  • ฟื้นฟูสภาพจิต 6 เดือน

  • ฝึกอาชีพ 6 เดือน

  • ฝึกงาน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ 12 เดือน


โดยมีการบูรณาการร่วมกันจากกระทรวงที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงยุติธรรม, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ, กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ผู้เสพยาเสพติด พอระยะหนึ่งก็จะผันตัวเป็น ผู้ขายตรง หรือเราจะเรียกว่า direct sale ก็จะหมดไป

  • ปัญหาถูกทำร้ายร่างกายเด็ก / ผู้สูงอายุ จะหมดไปทันทีเช่นกัน บ้านเมือง ชุมชน ครอบครัว อยู่อย่างสงบสุข


ดังนั้นรัฐบาลวางแผนตัดตอนวงจรอุบาทว์ผู้ขายและผู้เสพยาเสพติดด้วยการบำบัดโครงการ มอบชีวิตใหม่ผู้หลงผิดคืนสู่สังคม 2 ปี ครบวงจรอย่างถาวร (ซึ่งปัจจุบัน 45 วัน แล้วปล่อยกลับบ้าน)


มูลนิธิปวีณาฯ ขอขอบคุณภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน ที่ได้ร่วมบูรณาการทำงานร่วมกันจนสามารถช่วยเหลือเด็ก สตรี และผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และขอขอบคุณพลเมืองดีที่ช่วยกันแจ้งเบาะแส ร่วมกันให้ข้อมูลช่วยเหลือเด็ก สตรี และผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะปัญหาสังคมไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดงานหนึ่ง หากทุกคนช่วยกันปัญหาทุกอย่างจะเบาบางลงไปได้


สำหรับผู้ที่ต้องการร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือมายังมูลนิธิปวีณาฯ สามารถติดต่อโทร. 1134, 02 577 0496, 02 577 0497, 02 577 0498, 02 577 0500, 02 577 0501 ในเวลาทำการ หรือโทรมือถือมูลนิธิปวีณาฯ หมายเลข 098 478 8991, 081 814 0244, 081 890 1355, 062 560 1636, 063 237 7327 เจ้าหน้าที่มูลนิธิปวีณาฯ ทุกคนจะรับเรื่องของท่านด้วยความยินดียิ่ง และท่านยังสามารถแจ้งเรื่องร้องทุกข์ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วย

สุดท้าย เนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ 2565 มูลนิธิปวีณาฯ ขอเป็นกำลังใจให้ ประชาชนทุกท่าน ได้รอดพ้นจากสถานการณ์โควิด-19 และมีสุขภาพแข็งแรง มีความสุข มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป

มูลนิธิปวีณา ขอเรียนว่า จะปิดทำการตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค 64 – 3 ม.ค 65 รวม 5 วัน หากท่านใดมีเรื่องด่วนขอความช่วยเหลือ สามารถติดต่อส่งข้อความมายังเฟซบุ๊กมูลนิธิปวีณาฯ ได้ทันทีตอด 24 ชั่วโมงค่ะ










ยังมีคนทุกข์ร้อนรอความช่วยเหลืออีกจำนวนมาก

ร่วมบริจาคช่วยเหลือเด็ก สตรี และผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมกับมูลนิธิปวีณาฯ ผ่าน QR Code หรือ ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 076-2-76401-3


 

ขอเชิญทุกท่านมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคมกับมูลนิธิปวีณาฯ บริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินงานมูลนิธิปวีณาฯ ตามคิวอาร์โค้ด (QR Code) นี้















  • ธนาคารกสิกรไทย เลขที่ 006-3-34613-6 ชื่อบัญชี มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี

  • หรือ บริจาคผ่าน PROMPT PAY (พร้อมเพย์) หมายเลข 099 300 0195 906

  • ธนาคารกรุงเทพ เลขที่ 187-4-44641-0

  • ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 076-2-76401-3

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เลขที่ 381-1-22311-0

#ร่วมช่วยเหลือสังคมกับมูลนิธิปวีณา #ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีทุกรูปแบบ #บริจาคมูลนิธิปวีณา #1แชร์ช่วยสังคมได้









ดู 153 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


bottom of page