top of page
  • รูปภาพนักเขียนทีมงานมูลนิธิปวีณาฯ

สถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาฯ ประจำปี 2565

มูลนิธิปวีณาฯ เปิดสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ ประจำปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. – 23 ธ.ค. 2565 รวมทั้งสิ้น 6,745ราย

เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.65 มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี แถลงข่าวสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาฯ ประจำปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. – 23 ธ.ค. 2565 รวมทั้งสิ้น 6,745 ราย


จำแนกเป็นปัญหาต่างๆ ดังนี้

1. ข่มขืน / อนาจาร 944 ราย

2. ล่อลวง/ค้าประเวณี/ค้ามนุษย์ 255 ราย

3. ทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย 961 ราย

4.ยาเสพติด 262 ราย

5. คนหาย 118 ราย

6. แรงงานไม่เป็นธรรม/ถูกหลอก 143 ราย

7. ปัญหาครอบครัว 1,432 ราย

8. ขอความเป็นธรรม 1,162 ราย

9. แช็ต/อินเตอร์เน็ต 184 ราย

10. ขอความอนุเคราะห์ 733 ราย

11. สุขภาพจิตและบริการสาธารณสุข 67 ราย

12. ปัญหาอื่นๆ 92 ราย

13. ผลกระทบจากโควิด-19 392 ราย

*รับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น 6,745 ราย

*ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 6,102 ราย

*อยู่ระหว่างดำเนินการ 643 ราย


ปัญหาที่มูลนิธิปวีณาฯ ให้ความสำคัญ และดำเนินการเร่งด่วน

1. ข่มขืน/อนาจาร 944 ราย

2. ค้ามนุษย์/ค้าประเวณี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 255 ราย

3. อาชญากรรมออนไลน์ 528 ราย

4. ทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย 961ราย

5. ยาเสพติด 262 ราย

6. ปัญหาครอบครัว 1,432 ราย


ประเด็นที่ยังเป็นปัญหาสังคมรุนแรงในปี 2565 คือ


อันดับ 1.ข่มขืน / อนาจาร ร้องทุกข์ 944 ราย

เปรียบเทียบ ปี 2564 จำนวน 781 ราย เพิ่มขึ้น 163 ราย คิดเป็น เพิ่มขึ้น 20.87 %


อันดับที่ 2. ค้ามนุษย์/ค้าประเวณี ร้องทุกข์ จำนวน 255 ราย

เปรียบเทียบ ปี 2564 จำนวน 102 ราย เพิ่มขึ้น 153 ราย

*เนื่องจากประเทศทั่วโลกมีการเปิดประเทศแล้ว หลังช่วงวิกฤติโควิดที่ผ่านมา ทำให้มีการชักชวนเดินทางไปทำงานต่างประเทศจำนวนมาก หลายคนหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ เพราะหวังจะได้งานสบายและรายได้สูง


*ปีนี้เราจะเห็นชัดเจนว่าเส้นทางถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศ


1.ถูกหลอกไปประเทศต่างๆ หลังโควิด-19 ลดลง โดยเป็นเส้นทางที่ถูกหลอกหลายสิบปี ปี 2565 ดูไบ เป็นอันดับ 1 เนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยว และมีการก่อสร้างที่ กลุ่มแรงงานจึงเดินทางไปรับจ้างขายแรงงาน ขบวนการค้ามนุษย์จึงถือโอกาสหลอกผู้หญิงไทยไปค้าประเวณีกับแรงงานต่างด้าว

2.ถูกหลอกไปประเทศเพื่อนบ้าน ฝั่งตะเข็บชายแดน ถูกนายทุนจีนสีเทาเข้ามาสร้างอาณาจักรบริเวณชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์

เคส “อาชญากรรมโลกออนไลน์” ที่น่าสนใจที่มูลนิธิปวีณาฯ ให้การช่วยเหลือ ทั้งในเรื่องหลอกไปทำงาน และค้าประเวณี ยังประเทศต่างๆ ดังนี้

1.กัมพูชา (คอลเซ็นเตอร์)

2.ฟิลิปปินส์ (คอลเซ็นเตอร์)

3.เมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา (ค้าประเวณี)

4.เมืองล๊อกกิ่ง ประเทศเมียนมา (ค้าประเวณี)


อันดับที่ 3. อาชญากรรมออนไลน์ ร้องทุกข์ 671 ราย

จำแนกรายละเอียดดังนี้

*ในปี 2565 พบว่าปัญหาอาชญากรรมบนโลกออนไลน์ หรือ ‘อาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime)’ ปัจจุบันมิจฉาชีพเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีเพื่อหลอกเหยื่อให้หลงกลแล้วได้เงินมาแบบง่ายๆ เป็นภัยร้ายใกล้ตัวเพียงแค่ปลายนิ้ว เพียงแค่เปิดคอมพิวเตอร์หรือใช้งานอินเทอร์เน็ต ทุกคนก็อาจจะตกเป็นเหยื่อจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้โดยไม่รู้ตัว


*ที่มา... แรงงานไม่เป็นธรรม/แรงงานถูกหลอกที่ร้องทุกข์มายังมูลนิธิปวีณาฯ

1.หลอกให้ลงทุน และ โอนเงินในรูปแบต่างๆ 272 ราย

2.หลอกให้ไปทำงาน 147 ราย

3.ส่งภาพโป๊และภาพเปลือยต่างๆ 122 ราย

4.หลอกให้เปิดบัญชี (บัญชีม้า) 50 ราย

5.ถูกข่มขู่คุกคามทางโซเชียล 44 ราย


อันดับที่ 4. ทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย ร้องทุกข์ 961 ราย

*ปัญหาทารุณกรรมเชื่อมโยงกับปัญหายาเสพติด


อันดับที่ 5. ยาเสพติด ร้องทุกข์ 262 ราย


อันดับที่ 6. ปัญหาครอบครัว ร้องทุกข์ 1,432 ราย


1.ทะเลาะกันในครอบครัว 396 ราย

2.แย่งบุตร 392 ราย

3.ค่าเลี้ยงดูบุตร 182 ราย

4.ฟ้องหย่า 132 ราย

5.ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ 118 ราย


บรรยากาศ Live Fb แถลงผลการดำเนินงาน และสรุปสถิติของมูลนิธิปวีณาฯ ประจำปี 2565 และปัญหาสังคมที่น่าเป็นห่วง https://fb.watch/hGxFTIGA7-/






คลิปบรรยากาศการแถลงข่าว








ดู 170 ครั้ง2 ความคิดเห็น
bottom of page